วันศุกร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ดอกกระดุมทอง



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Melampodium divaricatum 
 
ชื่อวงศ์ : Compositae
 
ชื่อสามัญ : Little yellow star
 
ชื่อพื้นเมือง : พิกุลทอง
   
 ลักษณะทั่วไปต้นกระดุมทอง (Characteristic)

กระดุมทอง เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงราว 0.30-0.50 เมตร มีอายุสั้นประมาณสองปี ตามลำต้นมีขนสากมือ ใบมีลักษณะใบเดี่ยว   เรียงตรงข้าม รูปรีกว้างหรือรูปไข่ กว้าง 1-5 เซนติเมตร  ยาว 3-10 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ  ขอบเรียบหรือหยักซี่ฟัน  แผ่นใบมีขนสากทั้งสองด้าน  ก้านใบสั้นมีครีบ มีขนตามก้านใบ ดอกสีเหลือง  มีกลิ่นเหม็น ออกดอกเดี่ยวหรือออกเป็นคู่ตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง  โคนช่อดอกมีใบประดับรูปรีเรียงซ้อนกัน 2 ชั้น ชั้นนอก 3-5 ใบโคนเชื่อมติดกัน ชั้นในหุ้มผลไว้ ขอบใบประดับมีขนเรียงกันถี่ กลีบดอกรูปรี ดอกบานเต็มที่กว้าง 2-3 เซนติเมตร กระดุมทองมีผล ซึ่งเป็นผลแห้งแตก รูปสามเหลี่ยมยอดแบน เมล็ดเล็ก สีดำเป็นมัน

การใช้งานด้านภูมิทัศน์ (Landscape Used) 

ปลูกลงกระถาง หรือปลูกลงแปลงประดับสวน

การขยายพันธุ์

โดยการเพาะเมล็ด

ดอกกาสะลอง (ปีบ)



ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Millingtonia hortensis   L.f.

ชื่อสามัญ :    Cork Tree , Indian Cork

วงศ์ :   BIGNONIACEAE

ชื่ออื่น :  กาสะลอง กาดสะลอง (ภาคเหนือ) เต็กตองโพ่ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ กาสะลอง 

ปีบ หรือ กาสะลอง เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 5-10 เมตร ลำต้นตรง เปลือกมีสีเทาเข้มแตกเป็นร่องลึก มีช่องอากาศ รากเกิดเป็นหน่อ เจริญเป็นต้นใหม่ได้ ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก 3 ชั้น กว้าง 13-20 ซม. ยาว 16-26 ซม. ก้านใบยาว 3.5-6 ซม. ตัวใบประกอบด้วยแกนกลางยาว 13-19 ซม. มีใบย่อย 4-6 คู่ ใบย่อย 4-6 คู่ กว้าง 2.5-3 ซม. ยาว 4-5 ซม. มีรูปร่างเป็นรูปหอกแกมรูปไข่ ฐานใบรูปลิ่ม ขอบหยักเป็นซี่หยาบ ปลายเรียวแหลม เนื้อใบบางคล้ายกระดาษ เกลี้ยง ดอกเป็นดอกช่อกระจุกแยกแขนง ยาว 10-25 ซม. ดอกย่อยประกอบด้วย กลีบเลี้ยง มีสีเขียว กว้างประมาณ 0.5 ซม. ยาวประมาณ 0.5 ซม. เชื่อมกันเป็นรูประฆังปลายตัด กลีบดอกมีสีขาว กลิ่นหอม กว้างประมาณ 0.5 ซม. ยาว 6-10 ซม. เชื่อมกันเป็นหลอดปากแตร แยกเป็น 5 แฉก 3 แฉกรูปขอบขนาน 2 แฉกล่างค่อนข้างแหลม เกสรเพศผู้มีจำนวน 4 อัน สองคู่ยาวไม่เท่ากัน เกสรเพศเมียมีจำนวน 1 อัน อยู่เหนือวงเกลีบ ออกดอกประมาณเดือนพฤศจิกายน - พฤษภาคม ผล เป็นผลแห้งแตก ลักษณะแบนยาวขอบขนาน มีเนื้อ เมล็ดมีจำนวนมา เป็นแผ่นบางมีปีก

การขยายพันธุ์ ปีบ,กาสะลอง

ตามธรรมชาติปีบ หรือกาสะลอง จะขึ้นกระจัดกระจายอยู่ห่าง ๆ กันตามป่าเบญจพรรณที่ค่อนข้างแห้งแล้งทั่วไปทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การขยายพันธุ์ ปกติใช้การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด หรือนำรากมาตัดเป็นท่อน ๆ แล้วนำมาชำในกระบะทรายที่ผสมขี้เถ้าแกลบ การออกดอกและการติดผล จะออกดอกและติดผล แยกหน่อใหม่ตามรากไปปลูก  เพาะเมล็ด


สภาพที่เหมาะสมในการปลูกปีบ,กาสะลอง

สภาพดินร่วนปนทราย อากาศชุ่มชื้น


 

ดอกคุณนายตื่นสาย


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Portulace grandiflora

วงศ์ : Portulacaceae

ชื่อสามัญ : Portulaca

ชื่ออื่น ๆ : Rosemoss, คุณนายตื่นสาย, แพรเซี่ยงไฮ้

ชื่อพื้นเมือง : ผักตาโค้ง (นครราชสีมา) ผักเบี้ยดอกเหลือง (กลาง) ผักเบี้ยใหญ่ (กลาง) และ ผักอีหลู (เงี้ยว แม่ฮ่องสอน)

คุณนายตื่นสาย เป็นพืชล้มลุก อวบน้ำ ในวงศ์ผักเบี้ย มีประมาณ 40 สายพันธุ์ สามารถสูงได้ถึง 40 ซม. มีการกระจายพันธุ์ในโลกเก่าตั้งแต่แอฟริกาเหนือถึงตะวันออกกลางและอนุทวีปอินเดียถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสตราเลเซีย

ลักษณะทางพฤษศาสตร์

คุณนายตื่นสายเป็นไม้คลุมดิน ลำต้นอวบน้ำสีม่วงแดง แผ่ทอดเลื้อยไปตามผิวดิน ใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบรูปไข่กลับแกมรูปรี กว้าง 1-2 เซนติเมตร ยาว 2-3 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ แผ่นใบอวบน้ำ ผิวใบด้านบนสีเขียวอ่อนถึงเขียวเข้ม บางพันธุ์มีขอบใบขลิบสีแดง ดอกสีขาว ชมพู แดง เหลือง ส้ม ออกเป็นดอกเดี่ยวตามซอกใบหรือปลายกิ่ง กลีบดอกชั้นเดียว บอบบาง ขอบกลีบดอกหยักเป็นคลื่น บานเมื่อได้รับแสงแดดตอนเช้า ดอกบานเต็มที่กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ผลแห้งแตก มีเมล็ดจำนวนมาก

การขยายพันธุ์

สามารถขยายพันธุ์ด้วยการการเพาะเมล็ด

การปลูกและการดูแลรักษา

คุณนายตื่นสายนั้นเหมาะที่จะปลูกในที่ ๆ มีอากาศร้อน และแห้งแล้ง ค่ะ ดังนั้นจึงเป็นพืชที่นิยมปลูกกันกลางแจ้ง ปกติคุณนายตื่นสายชอบดินทรายหรือดินปนทราย ไม่ชอบแฉะ จึงทนแล้งได้ดีกว่าแฉะ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเตรียมดิน ที่มีการระบายน้ำได้ดี ระยะเวลาจากเพาะเมล็ดจนให้ดอกประมาณ 6-8 สัปดาห์

ดอกพุดสามสี

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Brunfelsia americana L.

ชื่อวงศ์ : Solanaceae

ชื่อสามัญ : Yesterday today and tomorrow, Morning noon and night

ชื่อพื้นเมือง : พุดสี, พุทธชาดสามสี, สามราศรี

ลักษณะโดยทั่วไปทางพฤษศาสตร์ พุดสามสี

พุดสามสี นั้น เป็นไม้พุ่มเตี้ย สูง 2-5 ฟุต ที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศอเมริกาเขตร้อนและหมู่เกาะอินดีส ค่ะ ทรงพุ่มของพุดสามสีนั้นมีการแตกกิ่งก้านสาขามาก ทรงพุ่มแน่นทึบ ใบเรียบเกลี้ยงสีเขียวเข้มค่อนข้างแข็ง ทรงใบรูปมนรี ปลายใบแหลม ขนาดใบยาว 6-7 นิ้ว ดอกออกเป็นกลุ่ม มี 5 กลีบ แต่ละกลีบเป็นรอยยับย่น ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 1 นิ้ว ดอกที่บานใหม่ๆ เป็นสีม่วงเข้มพอรุ่งขึ้นจะกลายเป็นสีม่วงอ่อน และรุ่งขึ้นอีกวันดอกก็กลายเป็นสีขาว พอถึงวันที่สี่ดอกก็จะร่วง ดอกมีกลิ่นหอมจัดในเวลากลางคืนถึงเช้า ออกดอกตลอดทั้งปี ดอกมีกลิ่นหอมในช่วงเช้าและเย็น (ช่วงที่อากาศเย็น แสงแดดอ่อนหรือไม่มีแดด) และออกดอกดกมากน่ะนะคะ

การขยายพันธุ์พุดสามสี : ทำได้ด้วยการปักชำ  ซึ่งเป็นวิธีการที่เหมาะสมมากที่สุดค่ะ เนื่องจากเป็นพันธุ์ไม้หอมขนาดเล็กการตอนสามารถทำได้แต่ต้องเป็นกิ่งที่มีอายุประมาณ 1 ปีขึ้นไป เพราะกิ่งค่อนข้างเปราะอาจหักง่าย

แต่เนื่องจากพุดสามสีเป็นพันธุ์ไม้ที่มีระบบรากตื้น จึงต้องควรดูแลเรื่องการให้น้ำให้ดี หากต้นเริ่มขาดน้ำจะแสดงอาการเหี่ยวให้เห็นทันทีน่ะนะคะ หากพบอาการดังกล่าวให้รีบรดน้ำทันทีภายใน 2 ชม. อาการเหี่ยวจะหายไป  ในช่วง 1 ปีแรกไม่ควรมีการตัดแต่งใด ๆ เพราะจะทำให้ต้นโตช้า ในปีที่ 2 เป็นต้นไป ควรตัดแต่งกิ่งที่ไม่ต้องการหรือกิ่งที่อยู่ในทรงพุ่มออกบ้าง อย่าให้ใบแน่นเกินไป จะช่วยให้การเจริญเติบโตรวดเร็วดีค่ะ
  

13.JPG (570×424)  


ดอกแก้วเจ้าจอม


ชื่อวิทยาศาสตร์: Guaiacum officinale L.

ชื่อสามัญ: แก้วเจ้าจอม (อังกฤษ: Lignum Vitae)

แก้วเจ้าจอม เป็น ไม้กลางแจ้ง ที่เติบโตได้ดีในดินร่วนที่แม้จะมี่ความชื้น แต่ก็ระบายน้ำได้ดีค่ะ โดยสายพันธุ์ของแก้วเจ้าจอมนั้น ได้ถูกนำมาจากหมู่เกาะอินดีสตะวันออก โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำมาจากประเทศชวา (อินโดนีเซีย) ครั้งเสด็จประพาส เมื่อทรงนำเข้ามาแล้ว จึงทรงนำมาปลูกใน เขตพระราชอุทยานวังสวนสุนันทา และปัจจุบันก็มีเพียงต้นเดียวเท่านั้นที่เป็นต้นดั้งเดิม อยู่บริเวณด้านหลังเนินพระนาง หรือ พระบรมราชานุสรณ์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์พระบรมราชเทวี และภายหลัง ได้กลายมาเป็นดอกไม้สัญลักษณ์ประจำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาน่ะนะคะ

ลักษณะโดยทั่วไปทางพันธุศาสตร์ของ แก้วเจ้าจอม

เป็นต้นไม้ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงราว 10 - 15 เมตร ลำ้ต้นคดงด กิ่งก้านเป็นปุ่มปม เป็นไม้ที่มีความเเข็งและหนักมาก เนื้อไม้เป็นมันและมีลักษณะเป็นเส้นประสาน ทนต่อแรงอัดและน้ำเค็ม ดังนั้น จึงนิยมที่จะนำมาใช้ทำกรอบประกับเพลาเดินเรือทะเล หรือกรอบประกับเพลาเครื่องจักในโรงงานต่าง ๆ รวมทั้งนำมากลึงทำของใช้ เช่น ทำรอก ลูกโบว์ลิ่ง เป็นต้น

นอกจากนี้แล้ว เนื่องจาก แก้วเจ้าจอม เป็นไม้ไม่ผลัดใบ และจะเติบโตในลักษณะแตกใบพุ่มแผ่กว้าง จึงเหมาะสำหรับปลูกเป็นไม้ในสนาม เพื่อให้ความร่มรื่นแก่สวนหรือบ้านได้เป็นอย่างดีน่ะนะคะ

มาถึงในส่วนของใบกันบ้างค่ะ ใบของแก้วเจ้าจอม เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ผิวใบมัน มีใบย่อย 2 - 3 คู่ เรียงตรงข้ามคู่แกนกลางใบประกอบ ยาว 1 - 1.5 เซนติเมตร ก้านใบประกอบยาว 0.5 - 1.0 เซนติเมตร ใบย่อยไม่มีก้าน รูปไข่กลับ รูปไข่ กว้างหรือรูปรีเบี้ยวเล็กน้อยมี 2 ชนิด คือ ใบย่อย 2 คู่ ออกดอกง่ายและชนิดใบย่อย 3 คู่ ออกดอกน้อยกว่า

แก้วเจ้าจอมนั้น ออกดอกในช่วงเดือนธันวาคม-เมษายน และเดือนสิงหาคม-ตุลาตคมค่ะ ดอกเป็นดอกเดี่ยวสีฟ้าอมม่วงหรือสีฟ้าคราม และจะจางลงเมื่อใกล้โรยมีกลิ่นหอม ผล มีเนื้อขนาดเล็ก รูปหัวใจกลับกดแบนลง สีเหลืองสดใส หรือส้มเมล็ดแข็งรูปไข่ สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ดหรือปักชำและ ตอนกิ่งน่ะนะคะ


ดอกดาหลา

94557DSCF7610.JPG


ชื่อ                            ดาหลา

ชื่อวิทยาศาสตร์        Etlingera elatior (Jack) R.M. Sm. 
ชื่อพ้อง                     Phaeomeria magnifica, Nicolaia elatior 
ชื่อสามัญ                  Torch ginger 
วงศ์                           Zingiberaceae 
ชื่ออื่น ๆ                    กาหลา กะลา 
ถิ่นกำเนิด                  เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 


ดาหลา เป็นพืชล้มลุกประเภทใบเลี้ยงเดี่ยวชนิดหนึ่งซึ่งมีดอกที่สวยงาม โดยมีการปลูกมาเป็นระยะเวลานานแล้วทางภาคใต้ของไทย ซึ่งเดิมได้มี การนำหน่ออ่อนและดอกมาใช้เป็นผักประกอบอาหารบางประเภท ปัจจุบันได้มีการนำมาปลูก เป็นไม้ตัดดอกมากขึ้น เนื่องจากดาหลาเป็นไม้ดอกที่ให้ดอกดกในฤดูร้อน ขณะที่ไม้ดอกชนิด อื่น ๆ ไม่ค่อยจะมีดอก ประกอบกับดอกมีขนาดใหญ่ สีสดใส รูปทรงแปลกตา ทำให้เป็นที่สนใจ ของผู้พบเห็นและเป็นที่ต้องการของตลาด ดังจะเห็นได้จาก ความต้องการซื้อขายดอกที่ตลาด ปากคลอง มีปริมาณถึง 200-500 ดอกต่อสัปดาห์ มีมูลค่า 3,000 - 7,500 บาท นอกจากนี้ ยังสามารถส่งออกต้นพันธุ์ได้บ้าง แหล่งผลผลิตที่สำคัญได้แก่ อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร อ.บางกรวย จ. นนทบุรี อ.ด่านมะขามเตี้ย จ. กาญจนบุรี อ. เมือง จ.กระบี่

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์          

ลำต้น
          

ดาหลา เป็นพืชที่มีลักษณะคล้ายข่า มีลำต้นใต้ดินเรียกว่าเหง้า (rhizome) เหง้านี้ จะเป็นบริเวณที่เกิดของหน่อดอกและหน่อต้น ดาหลา 1 ต้น สามารถให้หน่อใหม่ได้ประมาณ 7 หน่อ ในเวลา 1 ปี ส่วนลำต้นเหนือดินเป็นกาบใบที่โอบซ้อนกันแน่น เช่นเดียวกับพวกกล้วย ส่วนนี้คือลำต้นเทียม (pseudostem) ลำต้นเหนือดินสูง 2-3 เมตร มีสีเขียวเข้ม 
          
ใบ           

มีรูปร่างยาวรี กลางใบกว้างแล้วค่อย ๆ เรียวไปหาปลายใบ และฐานใบ ใบไม่มีก้านใบ ผิวเกลี้ยงท้งด้านบนและด้านล่าง ใบยาว 30-80 เซ็นติเมตร กว้าง 10-15 เซนติเมตร ปลายใบ แหลมฐานใบเรียวลาดเข้าหาก้านใบ เส้นกลางใบปรากฏชัดทางด้านล่างของใบ 
          
ดอก           

ดอกดาหลาเป็นดอกช่อมีลักษณะดอกแบบ (head) ประกอบด้วยกลีบประดับ (Bracts) มี 2 ขนาด ส่วนโคนประกอบด้วยกลีบประดับขนาดใหญ่ มีความกว้างกลีบ 2-3 ซ.ม. จะมีสีแดงขลิบขาวเรียงซ้อนกันอยู่และจะบานออก ประมาณ 25-30 กลีบ และมีกลีบประดับ ขนาดเล็กอยู่ส่วนบนของช่อดอก ความกว้างกลีบประมาณ 1 ซ.ม. ซึ่งมีสีเดียวกับกลีบประดับ ขนาดใหญ่ กลีบประดับเล็กนี้จะหุบเข้าเรียงเป็นระดับมีประมาณ 300-330 กลีบ ภายในกลีบ ประดับขนาดใหญ่ที่บานออกจะมีดอกจนิงขนาดเล็กกลีบดอกสีแดง ซึ่งเป็นดอกสมบูรณ์เพศอยู่ จำนวนมาก ดอกบานเต็มที่จะมีขนาดความกว้างดอกประมาณ 14-16 เซนติเมตร ความยาวช่อ 10-15 เซนติเมตร มีก้านช่อดอกยาว 30-150 เซนติเมตร ลักษณะก้านช่อดอกแข็งตรง ดอก จะออกตลอดปีแต่จะให้ดอกดกที่สุดในช่วงฤดูร้อน คือ เดือนมีนาคม - พฤษภาคม ดอกจะ พัฒนามาจากหน่อดอกที่แทงออกมาจากเหง้าใต้ดินลักษณะของหน่อจะมีสีชมพู ที่ปลายหน่อ 

การขยายพันธุ์ดาหลา          

ดาหลาสามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้           

1. การแยกหน่อ
          

ควรแยกหน่อที่มีความเหมาะสมนำไปปลูกคือ สูงประมาณ 60-100 ซ.ม. ขึ้นไปและมีกิ่งอ่อนกึ่งแก่นประมาณ 4-5 ใบ ใช้มีตัดให้มีเหง้า และรากติดอยู่ด้วย ซึ่งหน่อชนิดนี้จะมีหน่อดอกอ่อน ๆ ติดมาด้วยประมาณ 3 หน่อ นำไปชำในถึงพลาสติก 1 เดือนเพื่อให้หน่อแข็งแรงก่อนปลูก          

2. การแยกเหง้า
          

โดยการแยกเหง้าที่เกิดใหม่ที่โคนต้น แล้วนำไปชำในแปลงเพาะชำ วิธีนี้จะใช้เวลาประมาณ 1 ปี จึงจะเริ่มให้ดอก          

3. การปักชำหน่อแก่ 

โดยนำไปชำในแปลงเพาะชำให้แตกหน่อใหม่แข็งแรง แล้วจึงค่อยย้ายมาปลูกลงแปลง

ประโยชน์และสรรพคุณของดอกดาหลา

ดอกดาหลามีรสเผ็ดร้อน มีสรรพคุณช่วยแก้ลมพิษ แก้โรคผิวหนัง ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ เนื่องจากดอกดาหลามีกลิ่นหอมเฝื่อนๆ และอมเปรี้ยว จึงมักนิยมนำกลีบดอกไปยำ หรือจะนำดอกตูมและหน่ออ่อนต้มจิ้มน้ำพริก ใส่แกงเผ็ด
  

ดอกเล็บนาง


ชื่อวิทยาศาสตร์ Quisqualis Indica
ชื่อวงศ์ COMBRETACEAE
ชื่อสามัญ Rangoon Creeper
ชื่ออื่นๆ เล็บนาง, จะมั่ง, ไม้หม่อง
ถิ่นกำเนิด ประเทศอินเดีย


ประวัติและข้อมูลทั่วไป

เล็บมือนางนั้น นิยมปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับสวยงามค่ะ ปลูกประดับตามซุ้มหรือให้เลื้อยเกาะรั้ว ปลูกเลี้ยงง่ายเจริญเติบโตเร็ว ดอกมีกลิ่นหอม

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์เล็บมือนาง

เล็บมือนาง เป็นไม้เถาเลื้อย ลำต้นค่อนข้างแข็ง ขึ้นเป็นพุ่มแน่น ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม มีขนปกคลุมประปราย ใบรูปหอกปลายแหลม โคนใบแคบ กลางใบกว้างประมาณ 4-6 ซม. ยาว 12-15 ซม. ดอกออกเป็นช่อ เมื่อเริ่มบานมีสีขาวหรือสีชมพูอ่อนเมื่อบานเต็มที่จะเปลี่ยนเป็นสีชมพูเข้ม ช่อดอกยาว 10-30 ซม. ดอกย่อยมีก้านดอกยาว กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดรูปทรงกระบอก ปลายแยกเป็น 5 กลีบ และจะมีเกสรยาว ๆ ยื่นออกมาจากกลางดอก 5 อัน เป็นช่อสีขาว แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นสีชมพู ดอกมีกลิ่นหอม เมื่อดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-4 ซม. ดอกย่อยทยอยบาน เมื่อใกล้โรยเปลี่ยนเป็นสีแดง มีกลิ่นหอมแรงตั้งแต่พลบค่ำจนเช้า ดอกบานได้ 3-4 วัน ออกดอกได้ตลอดปี

การปลูกและดูแลรักษาเล็บมือนาง

เล็บมือนางเป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการแสงแดดจัด น้ำปานกลาง ดินปลูกควรเป็นดินร่วนซุย(ดินร่วนปนทราย) ธาตุอาหารสมบูรณ์ สามารถเก็บความชื้นได้สูง ควรหาวัสดุคลุมดินช่วยด้วย

การขยายพันธุ์เล็บมือนาง

ปักชำกิ่ง, ตอนกิ่ง หรือขยายพันธุ์โดยใช้รากหรือเหง้าที่ต้นอ่อนเกิดขึ้น แล้วแยกเอามาชำในที่ชุ่มชื้น
 

ดอกบานชื่น


ชื่อวิทยาศาสตร์ Zinnia elegans  
ชื่อวงศ์ COMPOSITAE 
ชื่อสามัญ Zinnia 
ชื่ออื่นๆ บานชื่น , Poorhouse flower, Everybody flower 
ถิ่นกำเนิด ประเทศเม็กซิโก 


ประวัติและข้อมูลทั่วไปของ บานชื่น 

บานชื่นนิยมปลูกเป็นไม้ประดับบ้านเรือนและปลูกเป็นกระถาง เนื่องจากบานชื่นเป็นไม้ดอกที่ปลูกง่ายเลี้ยงง่าย ไม่ต้องพิถีพิถันในการดูและรักษา มากมายแต่ให้ดอกที่สวยงาม สีสันสดชื่น เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมโดยไม่ต้องลงทุนมากมาย




ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 

บานชื่นเป็นไม้ดอกฤดูเดียว ลำต้นสูงประมาณ 2 ฟุต ลักษณะลำต้นมีขน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ใบติดกับลำต้น ดอกมีหลายสี เช่น แดง ชมพู ขาว ส้ม เหลือง ม่วงและแสด แล้วแต่ชนิดของพันธุ์ แต่ไม่มีกลิ่น

การปลูกและดูแลรักษา 

บานชื่นเป็นไม้ที่ต้องการแสงแดดจัด ต้องปลูกกลางแจ้งให้ได้รับแสงแดดโดยตรงอย่างน้อยวันละ 6 ชั่วโมง สามารถเจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด แต่ถ้าได้มีการเตรียมดินให้ดีมีธาตุอาหารครบครัน มีการระบายน้ำดี กักเก็บความชื้นไว้พอควร ก็จะได้บานชื่นที่มีพุ่มต้นสวยสมบูรณ์ ดอกดก คุณภาพดอกดี ควรรดน้ำประจำทุกเช้า

การขยายพันธุ์ต้นบานชื่น 

ทำได้โดยการ เพาะเมล็ด, ปักชำยอด 

ดอกเบญจมาศ


ชื่อสามัญ Florist's Mun 
ชื่อวิทยาศาสตร์ Chrysanthemum monrifolium 
ตระกูล Compositae
ถิ่นกำเนิด จีน ญี่ปุ่น


เบญจมาศ  เป็นไม้ตัดดอก (ไม้พันธุ์ล้มลุก) อีกชนิดหนึ่งที่นิยมปลูกเลี้ยงและใช้กัน มีการซื้อขายมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากกุหลาบ(2537) เนื่องจากเป็นไม้ดอกที่มีรูปทรงสวยงาม สีสันสดใส ปลูกเลี้ยงง่าย และมีหลายพันธุ์ให้เลือก  อีกชื่อหนึ่งที่เป็นที่รู้จักคือ เก๊กฮวย (Chrysanthemum) นิยมใช้ในความหมายของดอกไม้ที่นำไปทำเป็นเครื่องดื่ม

เบญจมาศ เป็นไม้ขนาดเล็กสูงประมาณ 1 - 3 ฟุต ตามกิ่งก้านและลำต้นมีขนละเอียด ใบเรียวรี ขอบใบหยักใบสีเขียวอ่อนนุ่มมีขนอ่อนๆทั่วทั้งใบ ดอกกลม กลีบใบจะซ้อนๆกันมีหลากหลายสี สีแดง สีบานเย็น สีขาว สีม่วง น้ำเงิน สีเหลือง เบญจมาศเป็นไม้กลางแจ้งที่ชอบแดด ต้องการน้ำปานกลาง และความชื้นอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นเมื่อนำมาปลูกภายในอาคารจึงควรตั้งไว้ในที่ๆ แสงแดดส่องถึง รดน้ำอย่างสม่ำเสมอก็จะสามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี
นอกจากดอกที่มีสีสันสดใส ทำให้บรรยากาศภายในสดชื่นสว่างไสว ชึ่งเป็นลักษณะเด่นของเบญจมาศแล้วเบญจมาศยังเป็นไม้ประดับที่มีความน่าสนใจมาก อันเนื่องมาจากประสิทธิภาพในการดูดสารพิษสูงมาก จำพวกสารพิษ ฟอร์มาดีไฮด์ เบนซีน และแอมโมเนีย จึงไม่ควรมองข้ามที่จะหาเบญจมาศมาปลูกในสำนักงานหรือบ้านเรือน 

ประเภทเบญจมาศ ที่นิยมปลูกเป็นไม้ตัดดอก มี 3 ประเภท คือ

1.Exhibition Type เป็นเบญจมาศที่มีดอกขนาดใหญ่มาก ดอกมีรูปทรงกลม ลำต้นสูงใหญ่ แต่ละต้นเลี้ยงให้มีเพียง 1 ดอก ปกติจะปลูกสำหรับการโชว์

2.Standard Type เป็นเบญจมาศที่มีดอกขนาดเล็กกว่า Exhibition Type แต่ละต้นเลี้ยงให้มี 3-4 กิ่ง และแต่ละกิ่งให้มีเพียง 1 ดอก

3.Spray Type เป็นเบญจมาศที่มีดอกขนาดเล็กกว่า Standard Type แต่ละกิ่งมีหลายดอก และมี 3-4 กิ่งต่อต้น หรืออาจมีมากกว่านี้ ตัดดอกขายในลักษณะเป็นกิ่งหรือต้องขายทั้งต้น

สายพันธุ์พันธุ์เบญจมาศมีอยู่กว่า 1,000 พันธุ์ ที่นิยมปลูกในประเทศไทยเป็นประเภท Standard Type สีเหลืองและสีขาว พันธุ์ที่นิยมปลูกในขณะนี้คือ พันธุ์ขาวการะเกด พันธุ์ขาวเมืองตาก และพันธุ์ TW12 (Pui Tsin-Shin) ซึ่งให้ดอกสีขาว พันธุ์เหลืองตาก พันธุ์เหลืองทอง พันธุ์เหลืองอินทนนท์ พันธุ์เหลืองเกษตร และพันธุ์ TW17 (Shin-Fan-Tsu-Ri) ซึ่งมีดอกสีเหลือง

ลักษณะทั่วไปสภาพการปลูกการขยายพันธุ์

เป็นพรรณไม้ทีปลูกที่แสงแดดจัด กึ่งแดด เบญจมาศชอบดินร่วนซุยที่อุดมด้วยอินทรีย์วัตถุ ส่วนผสมของดินใช้ดินร่วน2 ส่วน ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 1 ส่วน เศษใบไม้ผุ 1 ส่ว

ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด
การดูแลรักษา

เบญจมาศ เป็นพรรณไม้ที่ต้องการแสงมากเมื่อปลูกเป็นไม้ประดับในอาคาร จึงควรตั้งไว้ริมหน้าต่างหรือในที่ๆ มีแสงส่องถึง ตัองการน้ำพอสมควร และต้องการความชื้นมากจึงควรหมั่นฉีดพ่นละอองน้ำใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเดือนละ 1 - 2 ครั้ง

ดอกเบญจมาศ นั้น ถือว่าเป็นดอกไม้แห่งความสูงส่ง ในบางแห่งใช้ดอกเบญจมาศนี้แทนสัญญลักษณ์ของกษัตริย์ หรือราชวงศ์ที่สูงศักดิ์ 

ดอกผีเสื้อแสนสวย


PhotobucketPhotobucketชื่อวิทยาศาสตร์   : Clerodendrum ugandense Prain
ชื่อสามัญ   : ผีเสื้อแสนสวย
ตระกูล   :  Blue Butterfly
ถิ่นกำเนิด   :  แอฟริกา

ลักษณะทั่วไปต้นผีเสื้อแสนสวย 

ต้น   : ผีเสื้อแสนสวยเป็นไม้พุ่ม จะสูงประมาณ 1 - 1.5 เมตร พุ่มโปร่ง รูปทรงพุ่มกลม ขนาดพุ่มเป็นกอใหญ่ประมาณ 1 เมตร ลำต้นเมื่อแก่แล้วมีสีน้ำตาลเข้มไปสู่น้ำตาลอ่อน ลำต้นอ่อนออกเป็นสีเขียว

ใบ   : เขียวตลอดทั้งใบ ผิวสัมผัสหยาบ

ดอก   : ดอกเป็นสีฟ้า กับสีฟ้าอ่อนจนแทบขาว เมื่อดอกบานออกมาจะเหมือนผีเสื้อ มีทั้งปีกบนสองปีก ปีกล่างสองปีกข้างลำตัว มีหนวดเป็นเกสรตัวผู้ที่ยาวอย่างอ่อนช้อย

ฤดูกาลออกดอก   : มีดอกตลอดทั้งปี ไม่มีกลิ่นหอม

สภาพการปลูก   : ผีเสื้อแสนสวย ชอบดินร่วนเหนียว ความชื้นปานกลาง แสงแดดเต็มวัน

การขยายพันธุ์   : ขยายพันธุ์โดยการปักชำกิ่ง เพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง

การปลูกและดูแลรักษา   : การปลูกผีเสื้อแสนสวยควรปลูกเป็นกอละ 6 ต้นต่อตารางเมตร หรือ 3 ต้นต่อตารางเมตร หรือปลูกเป็นลำต้นเดี่ยวๆ เป็นแถวยาว


 

ดอกนางแย้ม


นางแย้ม (Rose Clerodendrum) เป็นไม้พุ่มเนื้ออ่อน พบทั่วไปตามป่าของประเทศไทย 

นางแย้ม เป็นต้นไม้ทรงพุ่มตรง สูง 1-2 เมตร มีกลิ่นหอมเย็น ออกดอกเป็นช่อ ออกเป็นพวง ดอกเล็กๆ เช่นเดียวกับมะลิซ้อน หลายๆ ดอกซ้อนเรียงรายกัน สวยงามมาก พุ่มลำ ต้นเตี้ยสูงประมาณ 3-5 ฟุต ใบเป็นใบเดี่ยวจะออกเป็นคู่ๆ ตรงข้ามกัน ลักษณะ ใบเป็นรูปใบโพธิ์

ชื่อ : นางแย้ม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clerodendrum Philippinium
ชื่อวงศ์ : VERBENACEAE 
ชื่อสามัญ : Glory Bower
ชื่ออื่น ๆ : Burma Conehead นางแย้ม


ลักษณะทั่วไป : นางแย้มเป็นต้นไม้ประดับ ไม่สูงมากนัก มีกลิ่นหอมเย็น ออกดอกเป็นช่อ ออกเป็นพวงดอกเล็กๆ เช่นเดียวกับมะลิซ้อน หลายๆ ดอกซ้อนเรียงรายกัน สวยงามมาก พุ่มลำต้นเตี้ยสูงประมาณ 3-5 ฟุต ใบเป็นใบเดี่ยวจะออกเป็นคู่ๆ ตรงข้ามกัน ลักษณะใบเป็นรูปใบโพธิ์ ตรงปลายแหลมแต่ไม่มีติ่ง ขอบใบหยักรอบใบ เมื่อขยี้จะมีกลิ่นเหม็น ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกจะเบียดเสียดติดกันแน่นในช่อ ช่อดอกหนึ่งกว้างประมาณ 4-5 นิ้ว ลักษณะดอกย่อยคล้ายดอกมะลิซ้อนสีขาว บานเต็มที่ประมาณ 1 นิ้ว ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยงสีม่วงแดงเป็นหลอดสั้น ปลายแยก 5-6 แฉก ดอกย่อยบานไม่พร้อมกันและบานนานหลายวัน มีกลิ่นหอมมากทั้งกลางวันและกลางคืน ออกดอกตลอดปี
การปลูกและดูแลรักษา : นางแย้ม นั้นสามารถทนแดดและฝนได้เป็นอย่างดี ปลูกไว้กลางแจ้งจะได้ดอกใหญ่และสวยกว่า ดินปลูกควรเป็นดินร่วนซุย มีธาตุอาหารเพียงพอและมีความชื้นสูง นางแย้มเป็นไม้ที่ต้องการน้ำมากดังนั้นจึงจำเป็นต้องรดน้ำเป็นประจำอย่าให้ขาด

การขยายพันธุ์ : ด้วยการเพาะเมล็ด

ประโยชน์ทางยา : เป็น ไม้ประดับ และมีสรรพคุณทางสมุนไพร ใบใช้ตำพอกแก้โรคผิวหนัง รากใช้ต้มดื่มแก้ปวดข้อ ริดสีดวงทวาร แก้หลอดลมอักเสบ รากฝนกับน้ำปูนใสทารักษาเริม งูสวัด ต้นใช้ต้มดื่มแก้กระดูกสันหลังอักเสบเรื้อรัง ปวดข้อ ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ


ดอกยี่หุบ



ชื่อวิทยาศาสตร์ Magnolia coco  
ชื่อวงศ์ MAGNOLIACEAE 
ชื่อสามัญ Yee-Hoop 
ชื่ออื่นๆ ยี่หุบ 

ถิ่นกำเนิด ประเทศอินเดีย, หมู่เกาะสุมาตรา, ประเทศไทย 

การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง 

ประวัติและข้อมูลทั่วไปยี่หุบ 

ยี่หุบเป็นพันธุ์ไม้ของไทยแท้ชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ แม็กโนเลีย ซึ่งไม่เป็นที่รู้จักกว้างขวางในโลกมากนัก น่ะนะคะ พืชในวงศ์นี้อาจมีไม่เกิน 100 พันธุ์ ซึ่งรวมถึง จำปี จำปา มณฑา และมณฑาดอยด้วย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 

ยี่หุบเป็นพุ่มไม้เตี้ย สูงประมาณ 2-5 ฟุต แตกกิ่งและใบน้อย ใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียวสดเนื้อใบแข็งกระด้าง ใบรูปรีปลายแหลมและโคนโบแหลม ยาวประมาณ 5 นิ้ว ดอกยี่หุบนั้นจะออกเป็นช่อห้อยลงตามปลายกิ่ง ช่อละ 5-8 ดอก(อาจจะมีออกดอกเดี่ยวตามซอกใบใกล้ปลายกิ่งได้ด้วย) ดอกสีเหลืองอ่อนนวล ก้านดอกยาว 1-2 ซม. กลีบดอกงองุ้มและแข็งหนาทับซ้อนกัน 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ กลีบดอกหนาและอวบน้ำ กาบรองดอกเป็นสีเขียวนวลเวลาบานเต็มที่คล้ายกลีบดอกขั้นนอก ดอกยาวประมาณ 3 ซม. มีกลิ่นหอมจัดเวลาเย็น เมื่อดอกบานมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4-5 ซม. ดอกทยอยออกตลอดปี


 การปลูกและดูแลรักษา 

ยี่หุบไม่ชอบแสงแดดมาก ชอบดินร่วนซุยและชื้น สามารถทนอยู่ได้ในสภาพดินแฉะ การปลูกในพื้นที่สูง เช่น ภูเขาหรือบนดอย พบว่ามีดอกดกใหญ่และมีกลีบดอกหนากว่า 


การปลูกยี่หุบในกระถาง ก็สามารถออกดอกได้ดีค่ะ แต่ไม่ควรตั้งกระถาง หรือปลูกลงดินไว้กลางแจ้งตรงบริเวณที่โดนแสงแดดเต็มที่ตลอดทั้งวันนะคะ ไม่งั้นใบสวยๆ ของยี่หุบจะไหม้ ใบเหลือง โตช้า และไม่ค่อยออกดอก เพราะยี่หุบ จะชอบอากาศเย็นๆ และต้องการความชื้นค่อนข้างมาก ดังนั้น จึงควรปลูกในพื้นที่ร่มเย็น ใต้ร่มไม้ใหญ่ หรือในที่ร่มรำไร จะออกดอกได้ดีกว่าค่ะ