วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ดอกสิงโตพัดสีทอง



 ชื่อพื้นเมืองอื่น: สิงโตพัดสีทอง 
 ชื่อวิทยาศาสตร์: Cirrhopetalum skeateanum (Ridl.) Garay / Bulbophyllum skeateanum Ridl. (ชื่อพ้อง) 
 สกุล: Cirrhopetalum 
 วงศ์: ORCHIDACEAE 
 วงศ์ย่อย: Epidendroideae 
 สถานที่(ในรูป): อุทยานแห่งชาติคลองนาคา จ. ระนอง 

สิงโตพัดเหลือง หรือบางครั้งเราอาจจะได้ยินเรียกขานกันว่า สิงโตพัดทอง ก็ไม่แปลกอะไร เพราะยังไงมันก็คือดอกเดียวกัน ส่วนใหญ่จะพบเห็นกันในแถบป่าดิบเขาทางภาคใต้ ช่วงเวลาที่ออกดอกก็อยู่ในราวๆ เดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม ลักษณะโดยทั่วไปของดอกเป็นหัวรูปหยดน้ำ ขนาด 1 – 1.5 x 0.7 ซม. เรียงตัวบนเหง้า ห่างกันประมาณ 1 ซม. ใบเป็นรูปแถบ ขนาดของใบ 5 – 6 x 0.8 ซม. แผ่นใบค่อนข้างบางและอ่อน ปลายมน ช่อดอกเกิดจากโคนหัว ก้านช่อผอม ยาวประมาณ 10 ซม. ดอกเกิดที่ปลายสุดของช่อ จำนวนประมาณ 10 ดอก เรียงตัวแผ่ในแนวรัศมีเกือบเป็นครึ่งวงกลม 

เจ้าสิงโตพัดเหลืองดอกนี้ ความสำคัญของมันมิได้มีแค่เพียงความงามและความแปลกตา แต่มันยังเป็นตัวบ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของป่าดิบเขาได้เป็นอย่างดี 

ที่เคยได้ยินว่าพบกันบ่อยๆ ก็เห็นจะเป็นบริเวณผืนป่าเขาหลวง จังหวัดนครศรีธรรมราช แต่ที่จังหวัดระนองยังไม่ค่อยมีใครได้พบกันมากนัก ...ก็เลยทำให้เรารู้สึกตื่นเต้นกันเล็กน้อย จริงๆ มันก็ไม่น่าแปลกอะไร เพราะถ้าผืนป่าอุดมสมบูรณ์และเราใส่ใจกับสิ่งต่างๆ รอบตัวเราให้มากขึ้นแล้วล่ะก็ เราก็อาจจะพบว่าสิ่งดีๆ ที่มีคุณค่านั้นมันวนเวียนอยู่ใกล้ๆ ตัวเราแค่เอื้อมเท่านั้นเอง ...

 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น